วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรื่อง รายงานผลการวิจัยวิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียนมากที่สุด



รายงานผลการวิจัย
เรื่อง
วิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียนมากที่สุด
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”

โดย

    นายธนกฤต                    หริ่งโสภา         เลขที่ 2
   นายรุ่งตะวัน                   ประสพพร       เลขที่ 4
   นางสาวชลธิชา               สลุงเสือ           เลขที่ 6
     นางสาวณัฐชา                 บุญมี               เลขที่ 14
     นางสาวศิโรธร                ขอผลกลาง      เลขที่ 15

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2

โรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556


ชื่อเรื่องการค้นคว้า                             วิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้าน  หมอ “พัฒนานุกูล”
คณะผู้วิจัย                                            นายธนกฤต  หริ่งโสภา , นายรุ่งตะวัน  ประสพพร ,
 นางสาวชลธิชา     สลุงเสือ , นางสาวณัฐชา  บุญมี ,
นางสาวศิโรธร  ขอผลกลาง              
แผนการเรียน                                      วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษา                                 อาจารย์อัญชลี  ปิ่นเกตุ , อาจารย์ภิรญา  สายศิริสุข
ปีการศึกษา                                          2556

บทคัดย่อ
รายงานการค้นคว้าวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของวิชาที่ชอบเรียนและ ไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียน เพื่อศึกษาสาเหตุจากวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุด และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุด ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
ผลการทดสอบจากสมมติฐานคือ สามารถศึกษาข้อมูลของวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียน ได้ รู้ถึงสาเหตุและปัญหาจากวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”  สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ปัญหาความสำคัญของวิชานั้นๆ


กิตติกรรมประกาศ
                รายงานการวิจัยเรื่องวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” จัดทำขึ้นเพื่อทราบถึงข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ฉบับนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี ด้วยความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจาก        อาจารย์สุกัญญา  สราญจิตร์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อาจารย์อัญชลี  ปิ่นเกตุ      และอาจารย์ภิรญา  สายศิริสุข  ที่ปรึกษาวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ และแก้ไขข้อบกพร่อง อย่างใกล้ชิดตลอดมา นับตั้งแต่ต้นจนสำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ คณะผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย
                ขอขอบคุณผู้ที่ตอบแบบสอบถามทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยครั้งนี้ เป็นอย่างดี

                                 
                                                             
                                                                                                     คณะผู้วิจัย
                                                                                                  20  กุมภาพันธ์  2557


บทที่1
บทนำ
หลักการและเหตุผล
การศึกษาของเด็กไทยนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับประเทศต่างๆในโลก แต่ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งปัญหาการเรียนของเด็กเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิเช่น สภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกิดความเปลี่ยนแปลงไปมาก สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูทั้งที่บ้านและโรงเรียน ปัญหาจากตัวเด็กนักเรียน ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมความก้าวร้าวรุนแรง ปัญหาจากครอบครัว ที่มีฐานะทางบ้านยากจน และปัญหาจากโรงเรียน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก สติปัญญาของเด็กนักเรียนในวัยเดียวกัน การแข่งขันทางการเรียน  แรงจูงใจจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือแม้กระทั่งวิชาที่เด็กได้เรียน ซึ่งมีความยากง่ายต่อเด็กนักเรียน
ในปัจจุบัน เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” มีผลการเรียนที่ต่ำ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากวิชาที่ได้เรียน อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจในวิชาที่เรียน , ครูสอนไม่เข้าใจ , ไม่ชอบในวิชาที่เรียน หรือเหตุผลอื่นๆ หลายประการ ซึ่งคณะผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้จึงได้จัดทำงานวิจัยเรื่องวิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียนมากที่สุด ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” เพื่อศึกษาหาข้อมูลและสาเหตุของวิชาที่นักเรียนของโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล” ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดเพื่อนำมาปรับหรือแก้ไขปัญหาในวิชานั้นๆเพื่อให้นักเรียนหันมาสนใจการเรียนมากยิ่งขึ้นหรือในกรณีที่สนใจเรียนอยู่แล้วให้สนใจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม



เป้าหมาย/วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาข้อมูลของวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
2.เพื่อศึกษาสาเหตุจากวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
3.เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”

สมมุติฐานของงานวิจัย
1.มีความรู้เรื่องข้อมูลของวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
2.รู้ถึงสาเหตุของวิชาที่นักเรียน ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุด
                3.สามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา สาเหตุของวิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียนมากที่สุด

ขอบเขตของงานวิจัย
คณะวิจัยได้กำหนดขอบเขตของงานวิจัยได้ดังนี้
                1.ขอบเขตด้านประชากร
นักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ”พัฒนานุกูล”
กลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.1- .6 ช่วงชั้นละ20คน รวมทั้งหมด 120 คน ของโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”  อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
2.ขอบเขตด้านเนื้อหา
                ในการวิจัยเรื่อง วิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียนมากที่สุด ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” ได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาดังนี้
-ปัญหาและสาเหตุของวิชาที่นักเรียนชอบเรียนและไม่ชอบเรียน
-วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาวิชาที่นักเรียนไม่ชอบเรียน
-ผลกระทบอาจทำให้ผลการเรียนที่นักเรียนไม่ชอบเรียนแย่ลง

งบประมาณ                                                                                                              
                งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยประมาณ 250 บาท (ค่าพิมพ์งาน ทำปกรายงาน  พิมพ์รายงาน)
ระยะเวลา
                ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2556 - กุมภาพันธ์ 2557
นิยามศัพท์เฉพาะ
                1.นักเรียน หมายถึง ผู้ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”  อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
                2. วิชา หมายถึง ความรู้ , ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝนในโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี
                3. การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี

            4.วิชาที่ชอบเรียน หมายถึง วิชาที่เรียนแล้วมีความสนใจในชั่วโมงที่เรียน

            5.วิชาที่ไม่ชอบเรียน หมายถึง วิชาที่เรียนแล้วมีความเบื่อที่จะเรียนวิชานั้น


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1)  ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานในภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นในการทำวิจัยที่ใช้ในการแก้ปัญหา  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทำวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ และข้อค้นพบในการวิจัยชั้นเรียน
2)  ได้ข้อมูลมาเป็นแนวทางการปรับการเรียนการสอนกระบวนวิชาการวิจัยชั้นเรียนให้แก่ผู้สอนในกระบวนวิชาดังกล่าวให้ดีขึ้น
                3) ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงปัญหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา สาเหตุของวิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียนมากที่สุด อย่างแท้จริง


  

  
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในงานวิจัยเรื่อง วิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียนมากที่สุด ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้


นักเรียน ผู้เรียน นิสิต หรือ นักศึกษา ในความหมายโดยรวมคือผู้ที่เข้าเรียนในสถานศึกษา โดยแบ่งออกเป็น

1. นักเรียน หมายถึง ผู้เรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
ในประเทศไทยมีกฎหมายให้บุคคลทุกคนต้องจบการศึกษาขั้นต่ำในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (หลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ)
ที่มา: http://th.wikipedia.org/
ความรู้ความรู้คือสิ่งที่ทำให้คนเข้าใจ แล้วนำความเข้าใจนั้นมาปฏิบัติหรือประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
ที่มาไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม,  ความรู้ท้องถิ่น การจัดการองค์ความรู้ กับการจัดการทางสังคม
ความรู้คือ สิ่งที่มนุษย์สร้าง ผลิต ความคิด ความเชื่อ ความจริง ความหมาย                     โดยใช้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตรรกะ แสดงผ่านภาษา เครื่องหมาย และสื่อต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นไปตามผู้สร้าง ผู้ผลิตจะให้ความหมาย
ที่มา:  http://th.wikipedia.org/wiki/
ทฤษฎีการเรียนรู้ (อังกฤษ: learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom's Taxonomy)ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1.ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2.ความเข้าใจ (Comprehend)
3.การประยุกต์ (Application)
4.การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5.การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้
แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6.การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการ
ตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor) ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน              การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ    3 ส่วนด้วยกัน
1.พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
2.เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3.มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
1.ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2.ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4.ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6.เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกันการจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นบูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)
1.การจูงใจ (Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4.ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ (Gagne)
1.ผู้เรียน (Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
2.สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3.การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตาความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งบอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไรกระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆเสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอการยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้งการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิดการให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำการสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจการนำไปใช้กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
4.วิชา หมายถึง ความรู้ ,ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝนบางครั้งอาจหมายถึง ความรู้ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ แล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แบ่งออกได้กลุ่มสาระการเรียนรู้8 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย
2.กลุ่มสาระเรียนรู้คณิตศาสตร์
3.กลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์
4.กลุ่มสาระเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
5.กลุ่มสาระเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
6.กลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะ
7.กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
8.กลุ่มสาระเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki
กลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientiaซึ่งหมายความว่า ความรู้เช่นวิทยาศาสตร์ เรียนในระดับชั้นมัธยมตอนต้น ส่วนฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา เรียนในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระเรียนรู้คณิตศาสตร์
                คณิตศาสตร์ หมายถึง  (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.




กลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะ ประกอบด้วย ศิลปะและนาฏศิลป์เรียนในระดับชั้นมัธยมตอนต้น และในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย
ศิลปะ หมายถึง เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ศิลปะที่ให้คุณค่าทางร่างกายเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ประจำวันของมนุษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์พบเห็นเข้าใจและเห็นคุณค่าคุณประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ศิลปะที่ให้คุณค่าทางจิตใจเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าในการพัฒนา มนุษย์ให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
นาฏศิลป์ ความหมาย คือ ศิลปะการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายอย่างประณีต อ่อนช้อยจนเกิดความงดงามวิจิตรบรรจง
กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเรียนในระดับชั้นมัธยมตอนต้นและในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย
ภาษาอังกฤษหมายถึงที่บางครั้งมีผู้อธิบายว่าเป็นภาษากลางภาษาแรกของโลกเป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดหรือในบางกรณี เป็นภาษาระหว่างประเทศที่ต้องใช้ในการสื่อสารเรียนในระดับชั้นมัธยมตอนต้น และในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/
                กลุ่มสาระเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ประกอบด้วย วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการงานอาชีพเรียนในระดับชั้นมัธยมตอนต้น และในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย
                เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"

กลุ่มสาระเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ประกอบด้วย สุขศึกษา และพลศึกษา เรียนในระดับชั้นมัธยมตอนต้น และในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย
สุขศึกษา   หมายถึง ให้ผู้เรียนพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ  คุณธรรม  ค่านิยม  และ             การปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่ไปด้วยกัน
พลศึกษา   หมายถึง ให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว  การออกกำลังกาย  การเล่นเกมและกีฬา  เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์   สังคม   สติปัญญา  รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา
ที่มาwww2.triamudom.ac.th/index.php?option=com
กลุ่มสาระเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรียนในระดับชั้นมัธยมตอนต้น และในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หมายถึง แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมองพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนําหลักธรรมคําสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง และการอยูวมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทําความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยูเสมอ รวมทั้งบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม
กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทยเรียนในระดับชั้นมัธยมตอนต้น และในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย
ภาษาไทย หมายถึง มีความสำคัญต่อระบบการสื่อสารหรือสื่อความหมายในชีวิตจริง  เริ่มด้วยการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงทักษะ  ความจำเป็นของธรรมชาติสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คือ ทักษะการฟัง ทักษะการดู  ทักษะการอ่าน  ทักษะการเขียน    ทักษะการพูด การจัดกระบวนการเรียนรู้  จึงมีความจำเป็นมากที่จะให้ผู้เรียนมีทักษะต่างๆ ดังกล่าวมา อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
5.วิชาที่ชอบเรียน หมายถึง วิชาที่เรียนแล้วมีความสนใจในชั่วโมงที่เรียน
6.วิชาที่ไม่ชอบเรียน หมายถึง วิชาที่เรียนแล้วมีความเบื่อที่จะเรียนวิชานั้น
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/




บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
3.1 กลุ่มประชากร
                นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.1-.6 ช่วงชั้นละ 20 คน  รวมทั้งหมด 120 คน ของโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
3.2 เครื่องมือที่ใช้
       3.2.1แบบสอบถาม
                แบบสำรวจ วิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนสามารถศึกษาได้จากส่วนต่างๆดังนี้
เพศ และระดับการชั้นการศึกษา
ส่วนที่ 2 วิชาที่ชอบมากที่สุดและเหตุผลชอบเรียนเพราะอะไรเป็นคำถามปลายเปิดและปลายปิด
เหตุผลชอบเรียนเพราะอะไร ประกอบด้วย ครูสอนเข้าใจง่าย บรรยากาศในห้องเหมาะสม มีกิจกรรมให้ทำในชั่วโมง
ส่วนที่ 3 วิชาที่ไม่ชอบเรียนมากที่สุดและเหตุผลไม่ชอบเรียนเพราะอะไร เป็นคำถามปลายเปิดและปลายปิด
เหตุผลไม่ชอบเรียนเพราะอะไร ประกอบด้วย ครูสอนไม่เข้าใจ เรียนไม่รู้เรื่อง บรรยากาศในห้องเรียนไม่เหมาะสม มีการบ้านจำนวนมาก


สรุปผลการสำรวจ 3 อันดับวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดในแต่ละระดับชั้น
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชอบเรียน                                                                                             ไม่ชอบเรียน
1.พละศึกษา                                                                                        1.ภาษาอังกฤษ
2.ภาษาไทย                                                                                          2.คอมพิวเตอร์
3.สังคมศึกษา                                                                                      3.คณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชอบเรียน                                                                                             ไม่ชอบเรียน
1.ภาษาอังกฤษ                                                                                    1.คณิตศาสตร์
2.ศิลปะ                                                                                                2.การงานอาชีพ
3.สังคมศึกษา                                                                                      3.วิทยาศาสตร์
                                                                                                              
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชอบเรียน                                                                                             ไม่ชอบเรียน
1.ภาษาไทย                                                                                          1.ภาษาอังกฤษ
2.พละศึกษา                                                                                        2.คณิตศาสตร์
3.วิทยาศาสตร์                                                                                     3.การงานอาชีพ ฯลฯ


                                                ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชอบเรียน                                                                                             ไม่ชอบเรียน
1.คณิตศาสตร์                                                                                      1.ภาษาอังกฤษ
2.พละศึกษา                                                                                        2.สังคมศึกษา
3.วิทยาศาสตร์                                                                                     3.ภาษาไทย
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชอบเรียน                                                                                             ไม่ชอบเรียน
1.พละศึกษา                                                                                        1.ภาษาอังกฤษ
2.คณิตศาสตร์                                                                                      2.คอมพิวเตอร์
3.ศิลปะ                                                                                                3.เคมี
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชอบเรียน                                                                                             ไม่ชอบเรียน
1.คณิตศาสตร์                                                                                      1.ภาษาอังกฤษ
2.ภาษาไทย                                                                                          2.เคมี
3.ศิลปะ                                                                                                3.สังคมศึกษา
  
   3.2.2 คอมพิวเตอร์
   3.2.3 เครื่องพิมพ์
   3.2.4 กระดาษ A4 (ประมาณ 60 แผ่น)


3.ขั้นตอนดำเนินการ
                3.1.วิเคราะห์ข้อมูล
 -วางโครงร่าง
                                -วางกลุ่มเป้าหมาย
                                 -สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
                3.2.เขียนรายงาน
                                -พิมพ์งานตามโครงร่างที่วางไว้
                3.3.ขั้นตอนการทำงาน
                                -พิมพ์รายงาน
                                -สอบถามกลุ่มเป้าหมาย
                                -นำผลงานมาเรียบเรียง
                3.4.เผยแพร่งาน
3.4 สูตรที่ใช้ในการคำนวณ
1.สูตรค่าเฉลี่ยเลขคณิต ใช้สูตร ดังนี้ (http://www.stvc.ac.th/elearning/stat/csu2.html)
เมื่อ        X         แทน       ค่าเฉลี่ย
                                SX      แทน       ผลรวมของคะแนนทั้งหมดของกลุ่ม
n              แทน       จำนวนของคะแนนในกลุ่ม


ตารางสรุปผล ของเหตุผลวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล
                ส่วนที่ชอบ                                 
>0.8                       ชอบมาก
0.31-0.79              ชอบ
<0.3                       ไม่ชอบ

   ส่วนที่ไม่ชอบ
>0.8                       ไม่ชอบมาก
0.31-0.79             ไม่ชอบ
<0.3                       ชอบ
2.สูตรค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สูตร ดังนี้(http://reg.ksu.ac.th/teacher/kanlaya/3.9.html)

เมื่อ         S.D.       คือ          ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X1           คือ          ข้อมูล (i = 1,2,3…N)
           คือ          มัชฌิมเลขคณิต
N            คือ          จำนวนข้อมูลทั้งหมด
                 3.สูตรการหาร้อยละ ใช้สูตร ดังนี้(www.avc.ac.th/files/1102260990759_12020342.doc)

                   เมื่อ P     แทน    ร้อยละ
                           F     แทน    ความถี่ที่ต้องการแปลค่าให้เป็นร้อยละ
                           n      แทน    จำนวนความถี่ทั้งหมด






บทที่ 4
ผลดำเนินการวิจัย
ผลการดำเนินการวิจัยเรื่องวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” มีดังนี้
4.1 วิเคราะห์ข้อมูล
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
วิชาที่ชอบ

วิชาที่ไม่ชอบ


ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชาที่นักเรียนชอบลำดับที่ 1 คือ พละศึกษามี  จำนวน 25% ลำดับที่ 2 คือ ภาษาไทยจำนวน 15% และลำดับที่ 3 คือ สังคมศึกษาจำนวน 10%  และวิชาที่นักเรียนไม่ชอบ ลำดับที่ 1 คือ ภาษาอังกฤษจำนวน 30% ลำดับที่ 2 คือ คอมพิวเตอร์จำนวน 20% และลำดับที่ 3 คือ คณิตศาสตร์จำนวน 15% จากการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1          จำนวน 20 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิชาที่ชอบ


วิชาที่ไม่ชอบ

ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิชาที่นักเรียนชอบลำดับที่ 1 คือ ภาษาอังกฤษมีจำนวน 20% ลำดับที่ 2 คือ ศิลปะจำนวน 15% และลำดับที่ 3 คือ สังคมศึกษาจำนวน 15%           และวิชาที่นักเรียนไม่ชอบ ลำดับที่ 1 คือ คณิตศาสตร์จำนวน 35% ลำดับที่ 2 คือ การงานอาชีพจำนวน 25%และลำดับที่ 3 คือ วิทยาศาสตร์จำนวน 15% จากการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
 วิชาที่ชอบ

วิชาที่ไม่ชอบ

ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาที่นักเรียนชอบลำดับที่ 1 คือ ภาษาไทยมีจำนวน 30% ลำดับที่ 2 คือ พละศึกษาจำนวน 30% และลำดับที่ 3 คือ วิทยาศาสตร์จำนวน 15% และวิชาที่นักเรียนไม่ชอบ ลำดับที่ 1 คือ ภาษาอังกฤษจำนวน 45% ลำดับที่ 2 คือ คณิตศาสตร์จำนวน 25% และลำดับที่ 3 คือ การงานอาชีพจำนวน 10% จากการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
วิชาที่ชอบ


วิชาที่ไม่ชอบ


            
  ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาที่นักเรียนชอบลำดับที่ 1 คือ คณิตศาสตร์มีจำนวน 25% ลำดับที่ 2 คือ พละศึกษาจำนวน 20% และลำดับที่ 3 คือ วิทยาศาสตร์จำนวน 15% และวิชาที่นักเรียนไม่ชอบ ลำดับที่ 1 คือ ภาษาอังกฤษจำนวน 35% ลำดับที่ 2 คือ สังคมศึกษาจำนวน 10%และลำดับที่ 3 คือ ภาษาไทยจำนวน 10% จากการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน


ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

วิชาที่ชอบ

วิชาที่ไม่ชอบ


ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาที่นักเรียนชอบลำดับที่ 1 คือ พละศึกษามี จำนวน 35% ลำดับที่ 2 คือ คณิตศาสตร์จำนวน 30% และลำดับที่ 3 คือศิลปะจำนวน 15% และ                   วิชาที่นักเรียนไม่ชอบ ลำดับที่ 1 คือ ภาษาอังกฤษจำนวน 35% ลำดับที่ 2 คือ คอมพิวเตอร์จำนวน 15% และลำดับที่ 3 คือ เคมีจำนวน 10% จากการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 คน


ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
วิชาที่ชอบ

วิชาที่ไม่ชอบ


ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาที่นักเรียนชอบลำดับที่ 1 คือ คณิตศาสตร์มีจำนวน 25% ลำดับที่ 2 คือภาษาไทยจำนวน 25% และลำดับที่ 3 คือศิลปะจำนวน 15% และ        วิชาที่นักเรียนไม่ชอบ ลำดับที่ 1 คือ ภาษาอังกฤษจำนวน 35% ลำดับที่ 2 คือ เคมีจำนวน 15% และลำดับที่ 3 คือ สังคมศึกษาจำนวน 10% จากการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 คน
สูตรที่ใช้ในการหาค่าวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมีดังนี้
P    =    จำนวนนักเรียน x 100
            20
                   เมื่อ P     แทน    ร้อยละ
สรุปผลการสำรวจ   เหตุผลวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนของนักเรียนโรงเรียน
บ้านหมอ พัฒนานุกูล
เหตุผลวิชาที่ชอบเรียนมากที่สุด  สรุปได้ว่า  ครูสอนเข้าใจง่าย เป็นกันเอง มีนักเรียนที่เลือกมากจำนวน 111 คน จากนักเรียนทั้งหมด 120 คน
เหตุผลวิชาที่ไม่ชอบเรียนมากที่สุด  สรุปได้ว่า เรียนไม่รู้เรื่อง มีนักเรียนที่เลือกมากจำนวน 83 คน จากนักเรียนทั้งหมด 120 คน




บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ
                การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุด ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “ พัฒนานุกูล” จำนวน 120 คน มีสาระสำคัญที่สรุปและอภิปรายผล รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาข้อมูลของวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
2.เพื่อศึกษาสาเหตุจากวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
3.เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
5.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรคือ นักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ”พัฒนานุกูล”
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-.6 ช่วงชั้นละ20คน ของโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”  อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5.3.1แบบสอบถาม
                แบบสำรวจ วิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนสามารถศึกษาได้จากส่วนต่างๆดังนี้
เพศ และระดับการชั้นการศึกษา
ส่วนที่ 2 วิชาที่ชอบมากที่สุดและเหตุผลชอบเรียนเพราะอะไรเป็นคำถามปลายเปิดและปลายปิด
เหตุผลชอบเรียนเพราะอะไร ประกอบด้วย ครูสอนเข้าใจง่าย บรรยากาศในห้องเหมาะสม มีกิจกรรมให้ทำในชั่วโมง
ส่วนที่ 3 วิชาที่ไม่ชอบเรียนมากที่สุดและเหตุผลไม่ชอบเรียนเพราะอะไร เป็นคำถามปลายเปิดและปลายปิด
เหตุผลไม่ชอบเรียนเพราะอะไร ประกอบด้วย ครูสอนไม่เข้าใจ เรียนไม่รู้เรื่อง บรรยากาศในห้องเรียนไม่เหมาะสม มีการบ้านจำนวนมาก
5.3.2 คอมพิวเตอร์
5.3.3 เครื่องพิมพ์
5.3.4 กระดาษ A4ประมาณ60 แผ่น
5.4 การดำเนินงานวิจัย
                สำรวจความคิดเห็นจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายของโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นวิชาที่นักเรียนชอบและไม่ชอบเรียน ที่ใช้สอบถาม จำนวน 7 ข้อ เป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด เกณฑ์การให้คะแนนแบ่งออกได้ดังนี้
เหตุผลที่ชอบเรียน
ไม่ใช่      0              คะแนน
ใช่           1              คะแนน
เหตุผลที่ไม่ชอบ
ไม่ใช่      0              คะแนน
ใช่           1              คะแนน
5.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการรายงาน ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยการหาค่าสถิติได้แก่
                1.การหาร้อยละ คำนวณจากสูตร(www.avc.ac.th/files/1102260990759_120290442.doc)
2.การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต คำนวณจากสูตร(http://www.stvc.ac.th/elearning/stat/csu2.html)
3.ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณจาก(http://reg.ksu.ac.th/teacher/kanlaya/3.9.html)
5.6 สรุปผลการวิจัย
                ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็น
                จากการสำรวจความคิดเห็นในเรื่อง วิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” แบ่งผลสำรวจออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. จากการสำรวจความคิดเห็นนักเรียนวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุด
พบว่าจากการสำรวจความคิดเห็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชอบวิชาพละ มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 25 และไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชอบวิชาภาษาอังกฤษ มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 20  และไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 35 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชอบวิชา ภาษาไทยมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 25  และไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 45 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชอบวิชา คณิตศาสตร์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 25  และไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 35 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชอบวิชาพละศึกษามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 35  และไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 35 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชอบวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 25  และไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 35



2.              จากการสำรวจความคิดเห็นนักเรียนสาเหตุวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุด
พบว่าจากการสำรวจความคิดเห็นนักเรียนเหตุผลวิชาที่ชอบเรียนมากที่สุด ได้ดังนี้
สรุปได้ว่าเหตุผลที่ 1 มีนักเรียนเลือกจำนวน 111 คน คิดค่าเฉลี่ยได้ 0.93 คิดค่า SD ได้ 0.26          ผลที่ได้ ชอบมาก
                 เหตุผลที่ 2 มีนักเรียนเลือกจำนวน 108 คน คิดค่าเฉลี่ยได้ 0.90 คิดค่า SD ได้ 0.30           ผลที่ได้ ชอบมาก
                 เหตุผลที่ 3 มีนักเรียนเลือกจำนวน 105 คน คิดค่าเฉลี่ยได้ 0.88 คิดค่า SD ได้ 0.33           ผลที่ได้ ชอบมาก

พบว่าจากการสำรวจความคิดเห็นนักเรียนเหตุผลวิชาที่ไม่ชอบเรียนมากที่สุด ได้ดังนี้
สรุปได้ว่าเหตุผลที่ 1 มีนักเรียนเลือกจำนวน 68 คน คิดค่าเฉลี่ยได้ 0.43 คิดค่า SD ได้ 0.50             ผลที่ได้ ไม่ชอบ
                  เหตุผลที่ 2 มีนักเรียนเลือกจำนวน 83 คน คิดค่าเฉลี่ยได้ 0.31 คิดค่า SD ได้ 0.46             ผลที่ได้ ไม่ชอบ
                  เหตุผลที่ 3 มีนักเรียนเลือกจำนวน 49 คน คิดค่าเฉลี่ยได้ 0.59 คิดค่า SD ได้ 0.49             ผลที่ได้ ไม่ชอบ
                  เหตุผลที่ 4 มีนักเรียนเลือกจำนวน 72 คน คิดค่าเฉลี่ยได้ 0.40 คิดค่า SD ได้ 0.49             ผลที่ได้ ไม่ชอบ

5.7อภิปรายผลการวิจัย
ผลจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาวิชาที่ชอบเรียนและไม่ชอบเรียนมากที่สุดของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” สามารถสรุปประเด็นสำคัญมาอภิปรายผลได้ดังนี้
1.ระดับวิชาที่นักเรียนชอบเรียนและไม่ชอบเรียน
               1. ผลรวมทั้งหมดของวิชาที่ชอบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 3 ระดับดังนี้                                ระดับที่ 1 วิชาพละศึกษา
ระดับที่ 2 วิชาคณิตศาสตร์
ระดับที่ 3 วิชาภาษาไทย
               2. ผลรวมทั้งหมดของวิชาที่ไม่ชอบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 3 ระดับดังนี้
ระดับที่ 1 วิชาภาษาอังกฤษ
ระดับที่ 2 วิชาสังคมศึกษา
ระดับที่ 3 วิชาวิทยาศาสตร์
2.ผลกระทบ
 สามารถสรุปผลกระทบวิชาที่ไม่ชอบได้ดังนี้
1.ต่อตนเอง
 1.1.หากนักเรียนไม่ชอบเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งจะทำให้ผลการเรียนในวิชานั้นลดลง
                         1.2.นิสัยและทัศนคติต่อการเรียนของเด็กไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบว่าตัวเองชอบอะไร ขาดเป้าหมายที่                                            ชัดเจนและความมุ่งมั่นของการเรียนรู้
                          1.3.เมื่อเรียนจบแล้วไปศึกษาต่อในลำดับที่สูงขึ้นที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิชาที่ไม่ชอบอาจทำให้ไม่เข้าใจวิชา                                  นั้นๆส่งผลทำให้ผลการเรียนต่ำ
5.8 ข้อเสนอแนะ
                1. นักเรียนต้องตั้งใจเรียนในทุกวิชา ไม่ควรสนใจเรียนในวิชาใดวิชาหนึ่งที่ตนเองชอบเท่านั้น
                2. นักเรียนต้องมีความใส่ใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ในรายวิชาที่เรียนให้มากขึ้นกว่าเดิม
                3. คุณครูควรหากิจกรรมนันทนาการให้นักเรียนทำในชั่วโมงเพื่อไม่ให้เกิดความน่าเบื่อในห้องเรียน สร้าง                               บรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนมากยิ่งขึ้น
                4. คุณครูควรสอนเนื้อหาให้ตรงและสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ในรายวิชาเพื่อที่ได้ผลการเรียนรู้ที่ตรงกับ                             วัตถุประสงค์      
                5. โรงเรียนควรส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีความน่าสนใจและมีความหลากหลายด้านการเรียนรู้มากขึ้น
บรรณานุกรม

            ความรู้.[ออนไลน์].แหล่งที่มา.http://th.wikipedia.org/wiki/
                ตัวอย่างงานวิจัย การเขียนโครงร่างการวิจัย.[ออนไลน์].แหล่งที่มา              
                :http://www.blog.eduzones.com
                ทฤษฎีการเรียนรู้.[ออนไลน์].แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/
                นักเรียน.[ออนไลน์].แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/
                วิชา.[ออนไลน์].แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki
สูตรคณิตศาสตร์.[ออนไลน์].แหล่งที่มา:http:// myfirstbrain.com/student2_10.aspx